วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553

Nike สั่งซื้อได้












































สั่งซื้อได้ทุกคู่นะคะ
NIKE เกรด AAA
ตาม Link ด้านล่างเลย (ชอบคู่ไหนสอบถามได้)
DearLady_bgirl@yahoo.co.th

VV


























































Pro Game



Pro GAME Audidton




http://www.gnv3.net/bbs/viewthread.php?tid=134594&pid=7806078&page=1&extra=page%3D1#pid7806078 บอท (มีเยอะมาเลยตัวนี้)


http://www.gnv3.net/bbs/viewthread.php?tid=128857 Hack audition ทุกโปร BOT Per พิมพ์หยาบ ชุดว่ายน้ำ แก้แดง ทุกโปร เข้ามา!!!!!!
http://www.all2bot.com/forum/index.php?PHPSESSID=bd5808dcf96fae9a55f02560da6ca0f0&topic=24404.0
http://mapleorhack.forums-free.com/pro-perfect-audition-hackshild-t16.html (Pro Perfect Audition ผ่าน hackshild ได้)
http://forum.noteptc.com/viewthread.php?tid=14376
http://www.gnv3.net/bbs/attachment.php?aid=MTM4NDE0fGE5YWRhODYxfDEyNjM5MDQyNDd8Y2IxNWRJYnlFZ2xYZDArdVVRZ1FYRWRYcThENnpFUCs3cW5waDBEY2tDNWRmckU%3D (มีครบทุกอย่างเลย)
http://www.4shared.com/file/248200833/bc493ac1/Gossip_z.html (ต้องอันนี้สิ ปัจจุบัน)
http://www.gnv3.net/bbs/thread-147284-1-1.htmlhttp://www.gnv3.net/bbs/link.php?url=aHR0cDovL3d3dy50aGFpY3liZXJ1cGxvYWQuY29tL2dldC80YmhzSk84SnJQ
http://www.gnv3.net/bbs/link.php?url=aHR0cDovL3d3dy50ZW1wZi5jb20vZ2V0ZmlsZS5waHA%http://www.gnv3.net/bbs/thread-122046-1-1.html
http://forum.noteptc.com/viewthread.php?tid=41527




วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


Link- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน



คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามา
มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับการพัฒนาศักยภาพ
ของระบบข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสารสนเทศ ทำให้แนวคิดในการนำคอมพิว-
เตอร์มาใช้ในทางการศึกษาเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหลายๆ ประเทศ สำหรับประเทศไทย
รัฐบาลได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนในหลักเกณฑ์การดำเนินการจัดหาคอมพิวเตอร์มา
ใช้เพื่อการเรียนการสอนในหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาของรัฐ (ถนอมพร ตันพิพัฒน์
2539, 1) ซึ่งจะเห็นได้จากการที่สถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ได้เปิดสอนหลักสูตรคอม-
พิวเตอร์ ตลอดจนนำเอาไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนวิชาต่างๆ
และเป็นที่ยอมรับกันว่าไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงกว่าสื่อการเรียนการสอน
ประเภทอื่นๆ ที่เคยมีมาแล้ว เพราะสามารถตอบสนองเป้าประสงค์ของการเรียนการสอน
ที่มีรูปแบบซับซ้อนและรูปแบบการเรียนรู้รายบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถ
และสติปัญญาของนักเรียนได้อย่างเต็มตามสมรรถนะของแต่ละคน (นงนุช วรรธนวหะ
2535, 62)
สำหรับรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษานั้น มีผู้แบ่งลักษณะของการใช้งาน
อะแลสซี่ และ ทรอลลิป (Alessi and Trollip 1991); ศรีศักด์ิ จามรมาน (2535); ศิริพร
สาเกทอง ( 2536, 34) ดังนี้
1
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร (Computer Applications into Administration)
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารในโรงเรียนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.1 งานบริหารการเรียนการสอน เช่น งานทะเบียน การจัดตารางสอน ตารางสอบ
การพัฒนาการเรียนการสอน การสร้าง-วิเคราะห์ข้อสอบ การวัด-ประเมินผลการเรียน เป็นต้น
1.2 การบริหารงานทั่วไป ได้แก่ การบริหารงานบุคคล งานด้านอาคาร-สถานที่
ครุภัณฑ์ งานการเงิน งานแนะแนว งานอนามัย งานโภชนาการ งานโสตทัศนศึกษา เป็นต้น
2. การสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ( Teaching about The Computer)
การสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักเรียนได้ทราบเกี่ยวกับคุณลักษณะ
2
ของคอมพิวเตอร์ในด้านของ Hardware เช่น คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างไร
และอีกประการหนึ่งคือการสอนเกี่ยวกับ Software เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานประเภทต่างๆ เช่น โปรแกรมภาษา Basic, ภาษา Pascal, ภาษา
C, Dbase, Lotusเป็นต้น รวมทั้งการใช้งานเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วย
เช่น ชุดโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ, โปรแกรม Aldus PageMaker, โปรแกรม
PhotoShop
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นสื่อการสอน โดยการ
เขียนหรือจัดสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน มีลักษณะคล้ายกับบทเรียนโปรแกรม
โดยที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามอัตราความสามารถของตนเอง ซึ่งบทเรียนที่เขียนขึ้นจาก
โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเรียกว่า "บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน"
สำหรับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษานั้น มีเหตุผลหลายประการ ซึ่ง นงนุช
วรรธนวหะ (2536, 15-16) ได้สรุปไว้ดังนี้
1. เหตุผลทางสังคม เพื่อเป็นการเตรียมเยาวชนให้พร้อมที่จะเผชิญกับเทคโนโลยี
ใหม่ๆ ในอนาคต
2. เหตุผลด้านการประกอบอาชีพ เป็นการเตรียมพื้นความรู้สำหรับเยาวชนให้
สามารถประกอบอาชีพได้ในสังคมเทคโนโลยี
3. เหตุผลด้านวิธีสอน คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สื่อการสอนที่สามารถช่วยปรับ
ปรุงกระบวนการสอนเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
4. เหตุผลด้านเครื่องเร่ง คอมพิวเตอร์อาจเป็นเครื่องช่วยเร่งในการแก้ปัญหาในกระบวน
การบริหารและการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไปในทิศทางที่ต้องการ
5. เหตุผลในด้านเทคโนโลยีข่าวสาร เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญใน
ระบบการสื่อสารปัจจุบัน เพราะสามารถรับและส่งข้อมูลไปยังทุกแห่งหนได้อย่างรวดเร็ว
6. เหตุผลในด้านการประหยัด คอมพิวเตอร์ช่วยลดเวลาการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายใน
การศึกษา ลดจำนวนครูผู้สอน
7. เหตุผลในด้านโอกาส คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยให้นักเรียนสนใจการเรียนมากขึ้น
และช่วยให้นักเรียนที่พิการทางร่างกายสามารถเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับคนปกติ
3
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI นั้น นักวิชาการและนักการศึกษาทั้งชาวไทยและ
ชาวต่างประเทศได้ให้ความหมายและแบ่งประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ไว้หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปเกี่ยวกับความหมายและประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนได้ดังนี้ เกอร์ลาซ และ อีไล (Gerlach and Ely 1980, 395-396) ; ไฮนิช และ คณะ
(Heinich and others 1990, 366); ร็อธสตีน (Rothstein 1990,312-331); อะแลซซี่ และ
ทรอลลิป (Alessi and Trollip 1991); เคมป์ และ สเมลลี (Kemp and Smellie 1994, 277);
สุรางค์ โค้วตระกูล (2533); ฉลอง ทับศรี (2535, 1); นงนุช วรรธนวหะ (2535); ช่วงโชติ
พันธุเวช (2535, 64-73); ศรีศักด์ิ จามรมาน (2535); สุกรี รอดโพธ์ิทอง (2535, 40); กิดานันท์
มลิทอง (2536); ชลิยา ลิมปิยากร (2536, 182); วิชุดา รัตนเพียร (2536, 57), ถนอมพร
ตันติพัฒน์ (2539) และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์ (2539, 43-57)
1. Computer-Assisted Instruction หรือ Computer-Aided Instruction : CAI
2. Computer-Assisted Learning : CAL
3. Computer-Based Education : CBE
4. Computer-Based Instruction : CBI
5. Computer-Based Training : CBT
6. Computer-Managed Instruction : CMI
7. Instructional Applications of Computer : IAC
ส่วนคำที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ Computer-Assisted Instruction (CAI) หมายถึง
การสอนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วยนำเสนอเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรม
แทนผู้สอน โดยที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีความสามารถใน
การตอบสนองต่อข้อมูลที่นักเรียนป้อนกลับเข้าไปได้ทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงแก่นักเรียน
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการรับรู้ของนักเรียน โดยอาศัยหลักการเรียนรู้จาก
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยา เช่น ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญานิยม เป็นต้น
4
ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทั่วไป สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้
1. สอนเนื้อหารายละเอียด (Tutorials)
โปรแกรมช่วยสอนเนื้อหารายละเอียด หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้
นักเรียนได้ เรียนรู้เนื้อหาหรือหลักการใหม่ๆ ด้วยการเสนอเนื้อหาและคำถามคำตอบ
ระหว่างบทเรียนและนักเรียน โปรแกรมจะแสดงเนื้อหาที่จะสอนแล้วตั้งคำถามให้นัก-
เรียนตอบ ต่อจากนั้นโปรแกรมจะวิเคราะห์คำตอบแล้วตัดสินว่า จะแสดงเนื้อหาต่อไป
หรือให้นักเรียนตอบคำถามใหม่หรือจะแสดงคำอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม และโปรแกรมช่วย
สอนนี้ยังรวมถึงวิธีการแนะนำให้นักเรียนตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยการให้
แนวทางแก่นักเรียนเพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้อง เช่น การสอนเนื้อหาเรื่องการหามุมของสาม
เหลี่ยม ซึ่งเคมป์ และ สเมลลี่ (Kemp and Smellie 1994, 278) ได้นำเสนอตัวอย่างดังในภาพ
ที่ 1-3
ภาพที่ 1 ตัวอย่างโปรแกรมสอนเนื้อหารายละเอียด 1
5
ภาพที่ 2 ตัวอย่างโปรแกรมสอนเนื้อหารายละเอียด 2
ภาพที่ 3. ตัวอย่างโปรแกรมสอนเนื้อหารายละเอียด 3
2. การฝึกทักษะ (Drill and Practice)
หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหารายละเอียดแล้ว สิ่งจำเป็นคือการมีโอกาสได้
ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนแล้วไปใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว
รวดเร็วหรือที่เรียกกันว่า ใช้ได้โดยอัตโนมัติ การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการฝึกทักษะ
ได้เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากมีความชัดเจนในการนำมาใช้เฉพาะวัตถุประสงค์ นอกจาก
นี้โปรแกรมการฝึกทักษะยังสร้างได้ง่ายกว่าโปรแกรมการสอนเนื้อหารายละเอียดที่ได้กล่าว
แล้วในหัวข้อก่อน โปรแกรมการฝึกทักษะอาจเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะเฉพาะ
อย่าง เช่น ทักษะการบวกเลข ทักษะด้านคำศัพท์ ทักษะการอ่านแผนที่ เป็นต้น
6
โปรแกรมประเภทนี้นิยมใช้กันมากในวิชาคณิตศาสตร์ การเรียนภาษา หรือภาษา
ต่างประเทศการฝึกทักษะเหล่านี้มักจะใช้คำถามเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งเรียกว่าคลังข้อ
คำถาม (Item Pool) นอกจากนี้ข้อคำถามที่ดีควรได้ผ่านการวิเคราะห์ค่าสถิติ เช่น
ระดับความยาก-ง่าย อำนาจจำแนก เป็นต้น โปรแกรมการฝึกทักษะที่ดีควรมีการประเมิน
ข้อบกพร่องของนักเรียนว่าจำเป็นต้องฝึกหัดที่ระดับความรู้ระดับใด และบอกสาเหตุของ
ความบกพร่องในการตอบผิด เช่น การฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องของรูปทรง ซึ่ง เคมป์ และ
สเมลลี่ (Kemp and Smellie 1994, 278) ได้นำเสนอตัวอย่างดังในภาพที่ 4-6
ภาพที่ 4 ตัวอย่างโปรแกรมการฝึกทักษะ 1
ภาพที่ 5 ตัวอย่างโปรแกรมการฝึกทักษะ 2
7
ภาพที่ 6 ตัวอย่างโปรแกรมการฝึกทักษะ 3
3. การจำลองสถานการณ์ (Simulations)
โปรแกรมการจำลองสถานการณ์ในการเรียนการสอน เป็นวิธีการเลียนแบบหรือ
สร้างสถานการณ์เพื่อทดแทนสภาพจริงในชีวิตประจำวัน สำหรับการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อ
สร้างแรงจูงใจให้นักเรียน เนื่องจากในบางครั้งการฝึกและทดลองจริงอาจมีราคาแพง หรือ
มีความเสี่ยงอันตรายสูง เช่น การจำลองสถานการณ์การบิน การจำลองการเกิดปฏิกิริยาของ
นิวเคลียร์ หรือการจำลองการทำงานของแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งการจำลองสถานการณ์
ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมด้วย เช่น การควบคุมเหตุการณ์ การตัดสินใจ การโต้ตอบกับสิ่ง
ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จำลองได้ โดยที่ในชีวิตจริงนักเรียนไม่อาจสามารถแสดงปฏิกิริยา
เหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตามในสถานการณ์จำลองย่อมลดความยุ่งยากซับซ้อนให้น้อยกว่า
เหตุการณ์จริงเช่น ลดรายละเอียด ลดโอกาสที่จะเกิดขึ้น เป็นต้น และในสถานการณ์จำลอง
นี้นักเรียนต้องแก้ใขปัญหาโดยการเรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการด้วยตนเอง จนเกิดความเข้าใจ
ในคุณลักษณะต่างๆ ในที่สุด รวมทั้งการเรียนรู้วิธีการควบคุมเหตุการณ์ เหล่านั้น หรือเรียน
รู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จุดมุ่งหมายของการใช้โปรแกรม
สถานการณ์จำลอง เพื่อช่วยให้นักเรียนได้สร้างรูปแบบการทดสอบเหตุการณ์ต่างๆ
อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เช่น การจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้า
ซึ่งเคมป์ และ สเมลลี่ (Kemp and Smellie 1994, 278) ได้นำเสนอตัวอย่างดังในภาพที่ 7-9
8
ภาพที่ 7 ตัวอย่างโปรแกรมการจำลองสถานการณ์ 1
ภาพที่ 8 ตัวอย่างโปรแกรมการจำลองสถานการณ์ 2
ภาพที่ 9 ตัวอย่างโปรแกรมการจำลองสถานการณ์ 3
9
4. เกมการสอน (Instructional games)
การใช้โปรแกรมเกมเพื่อการสอนกำลังเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่
ท้าทายความมานะพยายามและสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้โดย
ง่าย นอกจากนี้การใช้เกมยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้ดีขึ้นเนื่องจากมีภาพ แสง
สี เสียง และกราฟิคที่มีการเคลื่อนไหวได้ จึงทำให้นักเรียนตื่นตัวอยู่เสมอ รูปแบบของ
โปรแกรมเกมเพื่อการสอนคล้ายคลึงกับโปรแกรมบทเรียนสถานการณ์จำลองแต่แตกต่างกัน
โดยการเพิ่มบทบาทของนักเรียนเข้าไปในการใช้โปรแกรมเกมการสอนด้วย เช่น เกมการ
สอนวิชาคณิตศาสตร์ซึ่ง เคมป์ และ สเมลลี่ (Kemp and Smellie 1994, 278) ได้นำเสนอตัว
อย่างดังในภาพที่ 10-12
ภาพที่ 10 ตัวอย่างโปรแกรมเกมการสอน 1
ภาพที่ 11 ตัวอย่างโปรแกรมเกมการสอน 2
10
ภาพที่ 12 ตัวอย่างโปรแกรมเกมการสอน 3
5. การสาธิต (Demonstration)
โปรแกรมการสาธิต มีจุดประสงค์เพื่อสาธิตประกอบการสอน หรือบรรยาย
เนื้อหาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เพื่อช่วยผู้เรียนให้เข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น เช่น การเขียนกราฟ
แสดงรายละเอียด การสาธิตการเกิดสุริยุปราคา หรือสาธิตการโคจรของดวงดาว เป็นต้น
6. การแก้ปัญหา (Problem - Solving)
เป็นบทเรียนสำหรับใช้เรียนรู้และการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจ โดยมีการ
กำหนดเกณฑ์ให้ แล้วให้นักเรียนพิจารณาตามโปรแกรมนั้น โปรแกรมเพื่อให้การแก้
ปัญหาแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ โปรแกรมที่ให้นักเรียนเขียนเอง และโปรแกรมที่มีผู้เขียน
ไว้แล้ว เพื่อช่วยนักเรียนในการแก้ปัญหาโดยที่คอมพิวเตอร์จะช่วยในการคิดคำนวณและ
หาคำตอบที่ถูกต้องให้ ในกรณีนี้คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องช่วยเพื่อให้นักเรียนบรรลุถึง
ทักษะของการแก้ไขปัญหา โดยการคำนวณข้อมูลและจัดการสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนให้
แต่ถ้าเป็นการแก้ปัญหาโดยใช้โปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้วคอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณ
ในขณะที่นักเรียนเป็นผู้จัดการกับปัญหาเหล่านั้นเอง โปรแกรมลักษณะนี้นักเรียนจะให้
ความสนใจและตั้งใจมาก ถ้าได้รับแรงจูงใจและสิ่งเร้าในการเรียน ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุก
และเกิดความท้าทายและมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาต่อไป เช่น โปรแกรมการพัฒนา
บุคลิกภาพซึ่งเคมป์ และ สเมลลี่ (Kemp and Smellie 1994, 278) ได้นำเสนอตัวอย่างดังใน
ภาพที่ 13-15
11
ภาพที่ 13 ตัวอย่างโปรแกรมการแก้ปัญหา 1
ภาพที่ 14 ตัวอย่างโปรแกรมการแก้ปัญหา 2
ภาพที่ 15 ตัวอย่างโปรแกรมการแก้ปัญหา 3
12
7. การทดสอบ (Tests)
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทดสอบ มีบทบาทในการเป็นเครื่องมือ
ประเมินผลการเรียนของนักเรียนทั้งก่อนเริ่มเรียน ระหว่างเรียนและหลังการเรียน อีกทั้ง
ยังช่วยให้ผู้สอนมีความรู้สึกเป็นอิสระจากการกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทดสอบอีกด้วย
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยเปลี่ยนแปลงการทดสอบแบบเดิมๆ ให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับ
นักเรียนได้โดยอาจจะให้ผลย้อนกลับโดยทันที หรือประเมินผลหลังจากทำแบบทดสอบเสร็จ
8. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหา
เฉพาะเรื่องโดยใช้หลักปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) และวิธีการ
ฐานความรู้ (Knowledge Base) มาใช้เพื่อจัดเตรียม เก็บข้อมูลและข้อเท็จจริง (Facts)
โดยใช้ความรู้และกระบวนการอนุมานในการแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากในระดับที่ต้องใช้
ประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญของมนุษย์ กล่าวคือเป็นระบบที่จำลองความสามารถ
ของมนุษย์ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ลักษณะที่สำคัญของระบบผู้เชี่ยวชาญคือ
มีความสามารถในการดึงเอาความรู้ที่มีอยู่มาแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจาก
นี้อาจจะสร้างโมเดลของการเรียนรู้ขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนสามารถ
ทราบถึงความก้าวหน้าและข้อบกพร่องในการเรียนรู้ของตัวเอง
ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สามารถตอบสนองการเรียนรู้ส่วนบุคคลได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามระดับ
ความสามารถและอัตราความเร็วตามที่ต้องการ
2. สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนโดยการใช้สี เสียงและภาพ รวมทั้งการออกแบบ
โปรแกรมที่น่าสนใจ
3. สามารถคิดคำนวณได้รวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้ผู้เรียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยสอนความคิดรวบยอด (Concept) และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่าง
ดี
5. สามารถเรียนได้อย่างไม่จำกัดเวลา และทบทวนได้ตามที่ต้องการ
13
6. สามารถจัดแผนการสอนได้ดี ด้วยการที่ผู้สอนสร้างโปรแกรมที่มีขั้นตอนและ
ระบบที่ดี เช่น มีจุดมุ่งหมาย สอนเนื้อหา ทดสอบและให้ผลย้อนกลับ และยังสามารถเก็บ
ข้อมูลผู้เรียน วิเคราะห์และเสนอผลการประเมินได้
สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น นักวิชาการและนักการ
ศึกษาได้ศึกษาวิจัยไว้หลายลักษณะ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิจากการเรียนด้วย
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการเรียนด้วยวิธีปกติ การหาประสิทธิภาพของบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น ซึ่งการวิจัยเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีดังนี้
เมอร์ริท (Merritt 1983, 34-A)ได้ศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนโดยการใช้และไม่ใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในโรงเรียนระดับกลาง ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียน
เกรด 6 และเกรด 7 จำนวน 144 คน โดยกำหนดให้นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มที่เรียนจากการสอนแบบปกติเป็นกลุ่มควบคุม
เพื่อศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน การวัดความคิดรวบยอด ความวิตกกังวล ทัศนคติต่อครูและ
โรงเรียน ผลปรากฏว่า ผลสัมฤทธ์ิการเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในด้านการ
อ่านและการคำนวณ
โคลิช (Kolich 1986, 138-A) ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลจากการฝึกฝนด้านศัพท์
โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธ์ิด้านศัพท์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยม
ศึกษาเกรด 11 จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า กลุ่มทดลองซึ่งได้รับการสอนโดย
คอมพิวเตอร์มีผลสัมฤทธิ์ในคะแนนศัพท์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
วลี ศรีปฐมสวัสด์ิ (2532) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนคำศัพท์
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ที่มีภาพสีและภาพสีเอกรงค์ประกอบ พบว่า (1) นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน
ภาษาอังกฤษต่างกัน เมื่อเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีภาพสีและภาพเอกรงค์
ประกอบ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่แตกต่างกัน (2) นักเรียนที่เรียน
จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีภาพสีและภาพเอกรงค์ประกอบ ผลสัมฤทธ์ิทางการ
เรียนจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คือ นักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิว-
เตอร์ช่วยสอนที่มีภาพสีเอกรงค์ประกอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่
เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีภาพสีประกอบ (3) นักเรียนที่ระดับผลสัมฤทธ์ิ
person?
14
ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่างกัน เมื่อเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ดวงใจ ศรีธวัชชัย (2535) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการหาประสิทธิภาพของบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรม ในระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลาย พบว่า คะแนนทดสอบก่อนและหลังเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ
0.01
บุญชู ใจซื่อกุล (2537) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิของนักเรียนพยาบาลที่เรียน
จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีกลยุทธ์ในการออกแบบโปรแกรม การควบคุมความ
ก้าวหน้าในการเรียนและสิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ พบว่า นักเรียนพยาบาลที่เรียนจากบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควบคุมความก้าวหน้าในการเรียนโดยผู้เรียนจัดสิ่งช่วยมโนทัศน์ก่อน
การเรียน ระหว่างการเรียนและหลังการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียน
พยาบาลที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควบคุมความก้าวหน้าในการเรียนโดย
โปรแกรม จัดสิ่งช่วยมโนทัศน์ก่อนการเรียน ระหว่างการเรียนและหลังการเรียน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนพยาบาล ก่อนการเรียน
และหลังการเรียน มีความสนใจปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และมีการควบคุมตนเองได้ดี มีเจตคติ
ที่ดีต่อคอมพิวเตอร์
จันทนา บุณยาภรณ์ (2539) ได้ศึกษาการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริม
วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนคอม
พิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
ไว้คือ 80/80 (2) ผลสัมฤทธ์ิของนักเรียนจากการทดสอบหลังการเรียนซ่อมเสริมด้วยบท
เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าผลสัมฤทธ์ิก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากเอกสารและงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนอกจากจะ
ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างเจตคติที่ดีของผู้เรียนต่อ
คอมพิวเตอร์อีกด้วย

*********BY DearLady+++++++++