วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการนำข้อมูล PostNuke

ในการพัฒนาหรือสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม PostNuke CMS นั้นผู้ใช้สามารถทำการติดตั้งได้สองวิธี วิธีแรกทำการติดตั้งตรงบนโฮสต์ติ้งเลยวิธีนี้ค่อนข้างทำสะดวกและง่าย แต่มีข้อเสียอยู่ที่เราต้องเสียค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตพอสมควรกรณีเชื่อมต่อด้วยโมด็ม หลายท่านแก้ปัญหาโดยใช้วิธีที่สองคือทำการติดตั้งแล้วทดสอบในเครื่องตนเองโดยการจำลองเครื่องตนเองเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นวิธีที่ค่อนข้างประหยัดและหลายๆ ท่านกำลังใช้งานอยู่

โดยการทำเว็บที่เครื่องตนเองนั้น อาจทำเว็บให้เสร็จประมาณ 80-90 % หรือ 100 % แล้วค่อยอัปโหลดขึ้นที่เดียวเลยก็ได้ แต่การนำข้อมูลที่ทำในเครื่องตนเองส่งขึ้นไปเก็บบนเครื่อง hosting ค่อนข้างมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ผู้เขียนคิดว่าผู้ใช้หลายๆ ท่านคงประสอบปัญหาในการอัปโหลดโปรแกรม PostNuke CMS ขึ้นไว้บน Hosting กันแล้วคิดขยาดไม่อยากใช้งาน CMS ตัวนี้กัน เอาเป็นมามีผู้ถามมาเยอะ ผู้เขียนเลยตัดสินใจเขียนเป็นบนความนี้ขึ้นมาตามแนวทางที่ผู้เขียนใช้อยู่






รูปแสดงการอัปโหลดไฟล์ขึ้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่ศูนย์บริการ hosting


ขั้นตอน
1. ทำการเปิดโปรแกรม phpMyAdmin ที่เครื่องต้นทาง (เครื่องที่นั่งใช้งานอยู่) แล้วใช้วิธีการสำรองฐานข้อมูลไว้ก่อน
2. คลิกเลือกชื่อฐานข้อมูลที่เก็บโปรแกรม PostNuke




3 . คลิกเมนู ส่งออก (Export)




4 . คลิก Select All
5 . คลิกเลือกที่ [ / ] Save As file
6 . คลิกปุ่ม Go



7 . คลิกปุ่ม Save
8 . คลิกเลือกห้องเก็บที่ต้องการเก็บฐานข้อมูล
9 . ตั้งชื่อไฟล์โดยใช้รูปแบบเป็น dbname_วัน-เดือน-ปี.sql
10 . คลิกปุ่ม Save



11. คลิกปุ่ม Close

12. อันดับต่อไปก็นำตารางข้อมูลที่เราสำรองไว้ในเครื่องขึ้นไปเก็บไว้บน Hosting ปกติประมาณร้อยละ 90 % ทางฝั่ง hosting จะมีโปรแกรม phpMyAdmin ให้บริการอยู่แล้ว (หากไม่มีเราก็สามารถอับโหลดขึ้นไปเองได้ ขอให้มีภาษา php และฐานข้อมูล mysql ก็เพียงพอ) ในที่นี้สมมุติว่าทาง hosting มีโปรแกรม phpMyAdmin บริการเราก็ทำการล็อกอินเข้าระบบอาจผ่านทาง Control Panel ที่ทาง hosting มีให้บริการหรือผ่านโดยตรงก็แล้วแต่ให้เปิดโปรแกรม phpMyAdmin ได้ก็เพียงพอ

13. หลังจากเปิดโปรแกรม phpMyAdmin ทางฝั่ง hosting ได้แล้วอันดับแรกก็คลิกเลือกชื่อฐานข้อมูลด้านซ้ายมือ
กรณีที่เช่า hosting ราคาถูกๆ ท่านจะได้ฐานข้อมูลเพียงตัวเดียวเท่านั้น



14. คลิกที่คำสั่ง SQL > คลิกปุ่ม Browse... > คลิกเลือกชื่อตารางข้อมูลที่ได้ทำการสำรองไว้ก่อนหน้านี้
15. คลิกปุ่ม Open
16. คลิกปุ่ม Go



17. ระบบจะทำการ Dump ตารางข้อมูลที่เราสำรองไว้ (มีข้อมูลเว็บที่ทำไว้ก่อนหน้าในเครื่อง) ลงสู่ฐานข้อมูลบน hosting

18. หลังจากที่ทำการนำตารางข้อมูลในเครื่องตนเองขึ้น hosting เรียบร้อยแล้ว อันดับต่อไปให้ใช้โปรแกรม WS_FTP หรือโปรแกรม upload file ตัวอื่นๆ อัปโหลดไฟล์ข้อมูลของโปรแกรม postnuke ขึ้นไปเก็บไว้บน hosting
Host Name : ระบุชื่อโดเมนเนม หรือ IP Address ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ฝากเว็บไซต์อยู่
UserID : พิมพ์ชื่อผู้ใช้
Password : พิมพ์รหัสผ่าน

19. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Connect




20 . หากชื่อ host name / user/password ถูกต้องระบบจะเชื่อมต่อไปยัง Hosting

21 . ฝั่ง hosting ให้คลิกเข้าไปในห้องเก็บเว็บไซต์ส่วนมากจะเป็น public_html หรือ web

22 . กรณีบน hosting มีเว็บไซต์อยู่ก่อนหน้าแล้วไม่ควรอับโหลดไปทับในทันทีทันใด เพราะจะทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ควรใช้วิธีสร้างไดเร็กทอรี่ใหม่ไว้เก็บชั่วคราวก่อน โดยการคลิกที่ MkDir ในที่นี้จะสร้างไดเร็กทอรี่ว่า site2 (สามารถตั้งเป็นชื่ออื่นก็ได้)



ทำการสร้างไดเร็กทอรี่ว่า site2



23 . เข้าไปในไดเร็กทอรี่ site2
24 . เริ่มทำการ Upload ข้อมูลของโปรแกรม PostNuke จากเครื่องตนเองขึ้น hosting โดยการคลิกเลือกข้อมูลจากเครื่องตนเองด้านซ้ายมือแล้วทำการคลิกปุ่ม (Upload) เพื่อส่งข้อมูลไปเก็บยัง Web Hosting

25 . ในการอัปโหลดต้องใช้เวลารอคอยสักระยะหนึ่งขึ้นอยู่กับ Speed ของระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานอยู่ เอาเป็นว่าไปนั่งดูทีวีหรือทานอาหารก่อนได้เลย

26 . หลังจาก Upload เสร็จเรียบร้อยแล้วคราวนี้ก็ถึงคราวแก้ไขคอนฟิกไฟล์เชื่อมต่อฐานข้อมูลของ Postnuke
โดยที่ไฟล์เชื่อมต่อฐานข้อมูล MySQL ของโปรแกรม PostNuke มีอยู่สองไฟล์คือ
- config.php ไฟล์หลักในการเก็บค่าคอนฟิก
- config-old.php ไฟล์สำรอง
ทั้งสองไฟล์เก็บอยู่ในห้องตัวติดตั้ง PostNuke
ให้ใช้ Editor ในเครื่องตัวเองเปิดไฟล์ config.php เพียงไฟล์เดียว



27. ในที่นี้ให้แก้เพียงจุดเดียวคือ $pnconfig['dbname'] = 'postnuke';
postnuke คือชื่อฐานข้อมูลที่จะเก็บตัวติดตั้งทั้งหมด ตอนทำในเครื่องตนเองตั้งชืื่อว่า postnuke หรือตั้งเป็นชื่ออื่นแล้วแต่ผู้ใช้งานนะครับ
ให้เราทำการแก้ชื่อฐานข้อมูล postnuke เป็นชื่อฐานข้อมูลจริงที่ใช้งานอยู่

28. ทำการอัปโหลดไฟล์ config.php (แก้ไข) และ config-old.php (ยังไม่ได้แก้ไขอะไร) ขึ้น hosting อีกครั้งหนึ่ง ไว้ในไดเร็กทอรี site2

29. ทำการใช้โปรแกรม WS_FTP เปลี่ยนโหลดไฟล์ config.php และ config-old.php เป็น 666 (rw-) ให้อ่านและเขียนทับคอนฟิกใหม่ได้
โดยการคลิกขวาที่ไฟล์ดังกล่าวแล้วเลือก chmod (UNIX)



30 . ป้อนตัวเลขเป็น 666



31 . ทำการอัปโหลดไฟล์ psak.php ที่เครื่องตนเองไว้ยังไดเร็กทอรี site2 (หากท่านใดยังไม่มีไฟล์ psak สามารถอ่านรายละเอียดและดาวน์โหลด psak ได้ที่นี่ http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=105)

32 . ทำการเรียกใช้งานไฟล์ psak.php เพื่อทำการเปลี่ยนชื่อและรหัสผ่านของ MySQL Server ให้เหมือนบน hosting การเรียกใช้งานก็สามารถอ้างโดยตรงดังนี้
http://www.yourname.com/site2/psak.php



33 . คลิกที่ New DB username/password encoding




34 . ทำการป้อนชื่อ username ของ MYSQL, และรหัสผ่าน สองครั้ง เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Submit Query เพื่อทำการเปลี่ยนค่าคอนฟิกในไฟล์ config.php ให้เหมือนบน hosting
35 . หลังจากเปลี่ยนแล้วให้คลิกที่ เมนูหลัก และคลิกที่ กลับหน้าแรก เพื่อดูผล :)
36 . ระบบจะแสดงหน้าเว็บใหม่ที่ทำเสร็จแล้ว
37. หลังจากเรียกหน้าเว็บเสร็จเรียบร้อยแล้วให้แก้โหมดไฟล์ config.php และ config-old.php บน hosting เป็น 444 เพื่อป้องกันผู้อื่นเข้ามาแก้คอนฟิกพร้อมทั้งลบไฟล์ psak.php ออกด้วย
38. ตอนนี้คุณสามารถเรียกหน้าเว็บไซต์โดยการพิมพ์ URL ดังนี้ http://www.yourname.com/site2/
กรณีที่ก่อนหน้านี้เรามีเว็บเก่าบริการผู้ใช้อยู่แล้ว เรียกใช้งานเป็น http://www.yourname.com/ หากเราต้องการให้เว็บกระโดดไปยังหน้า site2 ก็สามารถทำได้โดยการเขียนไฟล์ index.html ไว้ในพาทหลักของเว็บไซต์เก่าดังนี้


เว็บบริการผู้ใช้ก่อนหน้า เว็บใหม่ที่สร้างด้วย postnuke
http://www.yourname.com/
กระโดดไปยัง >>>>
เว็บใหม่ที่สร้างด้วย postnuke http://www.yourname.com/site2/

ไฟล์ index.html (download)<> ไว้สำหรับทำ redirect จาก http://www.yourname.com/ ไปยัง http://www.yourname.com/site2/




note.
บทความนี้เป็นวิธีการวิธีการวิธีหนึ่งที่ผู้เขียนใช้เท่านั้น ในการใช้งานจริงผู้ใช้สามารถใช้วิธีอื่นก็ได้

2 ความคิดเห็น: